วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อัตตชีวประวัติบางส่วนของท่าน พุทธทาส





สมัยนั้นอาจารย์ไปกรุงเทพฯ เดินทางอย่างไร ถ้าไปเรือ ไปลงเรือไฟที่บ้านดอนเสีย ๖ บาท ถ้ารถไฟที่ไชยา รถไฟธรรมดารวดเดียวถึง ๑๖ บาท เรือไฟต้องค้างคืนในทะเลคืนหนึ่ง ขาไปมักไปรถไฟ ถ้ากลับออกมามักมาเรือแล้วขึ้นกรุงเทพฯ คราวนี้เรียนกับเที่ยวเท่า ๆ กัน ผมไปโรงเรียนอยู่ไม่กี่วันหรอก ไม่ชอบ เลยขอเรียนกับท่านพระครูชยาภิวัติ ขอให้ท่านช่วยสอนให้เวลากลางคืนที่กุฏิไปเรียนกับเขามันไม่สนุก มันไม่ทันใจ สอนอืดอาด เพราะต้องรอเด็กที่โง่ซึ่งอยู่ชั้นเดียวกัน ทีนี้พอจะเข้าสอบไล่ ท่านพระครูชยาภิวัติก็ใช้อิทธิพลของท่าน ผมเลยได้เข้าสอบไล่ทั้งที่ไม่ได้ไปโรงเรียน เพราะแกมีอิทธิพลเหนือครูเหล่านั้น
ทุกคน ก็ครูเหล่านั้นเคยเป็นลูกศิษย์ของท่านนี่ (หัวเราะเบา ๆ) ท่านสอนผมเป็นพิเศษทุกคืน รวมกับพระเณรอีก ๔-๕ รูปอาจารย์ครับ อาจารย์อยู่พุมเรียงไชยาเป็นที่ยอมรับกันมาก พอขึ้นไปกรุงเทพฯ นี่ไม่ตัวลีบลงหรือครับถูกแล้ว พอไปอยู่กรุงเทพฯ ตัวเล็กลงไปเป็นกอง (ฮะ ๆ ๆ) ที่บ้านนอกนี่ตัวใหญ่ เราก็ยอมแหละ จึงไม่อึดอัดอะไร เพราะเรายอมเล็ก จึงไม่กระทบกับใคร อาจารย์เข้ากับพระอื่น ๆ ได้ไหมฮะ ก็ได้ แต่พรรคพวก คนอื่นไม่ต้องไปเข้า เรื่องทะเลาะกันระหว่างพวกในวัดนั้นก็ไม่มีหรอก เราก็อยู่แต่ในคณะ กับสมภารก็อยู่คณะเดียวกัน ผมเป็นหลานของอาเสี้ยง ท่านก็ยินดีต้อนรับ มักจะให้สิทธิพิเศษตั้งหลาย
อย่าง (เฮ่อ ๆ ๆ) เช่นให้เปิดแผ่นเสียงได้ มันก็รู้กันอยู่ในทีว่าเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้เกียรติกันอยู่ อาจารย์ไปเรียนบาลีคราวนี้ไปเรียนเพื่ออะไร ไม่รู้ (เสียงห้วน ๆ แล้วหัวเราะ) มันก็ได้ผสมมติอยากจะดีจะเด่น เป็นมหาเปรียญด้วย สภาพเสนาสนะและความเป็นอยู่ของวัดในกรุงเทพฯ สมัยนั้นเป็นอย่างไรครับ วัดอื่นไม่ทราบ แต่วัดที่ผมอยู่สะดวกสบายพอสมควร คณะที่ผมไปอยู่นั้นมันอยู่กันคนละห้อง กุฏิเป็นเรื่องแบบโบราณ สร้างมาเป็นร้อย ๆ ปี มีหอสวดมนต์อยู่ตรงกลาง มีห้องมีกุฏิล้อมรอบ กว้างขวางพอสมควร มีบันไดขึ้นลง ๒ ข้าง เป็นแบบง่าย ๆ ไม่หรูหราเหมือนสมัยนี้ ใต้กุฏิที่ผมอยู่มีหมูเต็มไปหมด บางเวลาเหม็นมาก หนวกหูด้วย เวลาหมูวิ่งกัดกันทีแรกเขาเอามาปล่อย หรือมันหลุดเข้ามา แล้วมันออกลูกเร็ว ตอนนั้น
จึงได้เข้าใจคำว่าดินพอกหางหมู มันลูกเท่าชาม กลมปุ๊กพอกอยู่ที่หาง อย่างน้อย มันก็เท่ากำปั้น แกว่งไปมาคงจะเจ็บมากอยู่ มันคลุกกับดินกับฝุ่นอะไรมา แล้วแกว่งกระทบกับขา จนกลมเหมือนกับแกล้งกลึง แล้วมันไม่แตกไม่หลุด พอเกลือกเข้าอีกมันก็พอกเข้าอีก จนบางตัวเดินไม่ค่อยไหวก็มี ก่อนนั้นไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ พอเห็นทีแรกตกใจ (หัวเราะหึ ๆ ๆ) สภาพความเป็นอยู่ด้านอื่น ๆ ของพระในกรุงเทพฯ เป็นอย่างไรครับ พระชาวกรุงจริงไม่ค่อยมี ส่วนมากเป็นชาวต่างจังหวัด มาจากทั่วประเทศ พระ ๕๐๐ รูปนี่ พระกรุงเทพฯ ๔-๕ รูปเท่านั้น ไปเรียนบาลีเรียนนักธรรมกัน ส่วนมากก็ไปเรียนแบบโลก ๆ เป็นกันเกือบทุกวัด บางวัดเช่นวัดมหาธาตุฯ นี่คุมดีหน่อย นอกนั้นก็ดูจะปล่อยตามสบายใจ การบิณฑบาตนั้นเป็นถิ่น ๆ บางถิ่นไม่พอฉัน บางถิ่นเหลือฉัน อย่างตรงแถว ๆ ที่ผมอยู่เหลือฉัน ไปบิณฑบาตมาองค์หนึ่งก็ฉันไม่
หมด ทีนี้พระ ๔-๕ องค์มารวมกันมันก็เหลือเฟือ เด็กวัดปทุมคงคาที่ไปอาศัยเรียนทางโลกก็มีหลายคน รอบวัดปทุมคงคามีคนหนาแน่น และเป็นคนไทยถือพุทธถือศาสนาจัด ๆ ก็แยะ เป็นตระกูลใหญ่ ๆ ตระกูลโบราณ หลายตระกูล ตรุษจีนปีใหม่ เณรบางองค์ไปขนมาวันละ ๔-๕ บาตร คือพอเต็มกลับมาวัดแล้วไปขนมาอีก กว่าจะสิ้นเวลาบิณฑบาตมันได้ตั้ง ๔-๕ ครั้ง เพระว่าออกบิณฑบาตตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ วันนั้น ๆ พระไม่ต้องออกบิณฑบาตก็ได้ การบิณฑบาตที่ถึงกับแย่งกันนั้นผมไม่เคยพบ แถวนั้นคนใส่มากไม่ต้องถึงกับแย่งกัน พระเณรยังมีความคิดนึกกันอยู่ จะรอกันอย่างว่ามา ๒ ข้างของโยมจะดูว่าใครมาก่อนมาหลัง บางทีเราลืมไป จำไม่ได้แน่ เพื่อนอีกฝ่ายพยักหน้าให้เข้าไปก่อน ไม่ฉวยโอกาส มีอยู่บ้านหนึ่ง เป็นบ้านของคุณนายอุ่น ถ้าถึงวันประจำปีอะไรวันหนึ่ง จะมีพระไปยืนรอเต็มตรอกเพราะพระรู้ว่าวันนั้นเจ้าของบ้านจะใส่เงิน ๕ บาท พระเลยไปรอกัน บางองค์เอาหลายหน ข้ามมาจากฝั่งธนฯ ก็มี ผมยอมสละ
ผมรอไม่ได้ รอเป็นชั่วโมง ๆ รอไม่ได้ อีกอย่างข้าง ๆ ตลาดสดมีการขายข้าวและกับ พระก็ไปยืนรอกัน พอมีโยมมาก็ซื้อใส่บาตร ผมไม่ได้รอ เพราะไม่จำเป็นต้องรอ ยังไง ๆ ก็มีข้าวกินแน่ แล้วมันน่ารำคาญ การเทศน์สมัยนั้นเป็นแบบไหนครับ ที่วัดนั้นยังเทศน์ใบลาน ผมก็ไปเทศน์กับเขาครั้งหนึ่ง จำได้ว่าเทศน์เรื่องมหาวงศ์ เป็นเรื่องพงศาวดารของลังกา ประวัติศาสตร์ศาสนา เขาให้กัณฑ์เทศน์ ๒๕ บาท ชาวบ้านไปฟังกันไม่กี่คน เขาทำเพื่อรักษาประเพณี และทำตามความประสงค์ของคุณนายอุ่น โปษยจินดา พ่อแม่เขาเคยทำมาอย่างนั้น จัดให้พระเทศน์ ๗ วันองค์หนึ่ง เขาไม่อยากให้มันสูญไป มาขอร้องเจ้าอาวาสก็
จัดไปตามนั้น พระองค์ไหนพออ่านหนังสือได้ก็ถูกจัดขึ้นเทศน์ อาจารย์ครับ แสดงว่าความนิยมในพระศาสนาเริ่มเสื่อมลงแล้วสิครับ มันก็ต้องเรียกว่าเสื่อม แต่ก่อนนี้เราไม่รู้นะว่ามีคนเข้าวัดกี่คน แต่มันก็ยังเรียกว่ายังมีอยู่ละ ถ้าเป็นวันพระก็เต็มหมดที่ศาลา วันธรรมดาพระขึ้นธรรมาสน์ก็มีคนเฝ้าศาลา พอไม่ให้ขาด ผมให้ศีล "อิมานิ ปัญจะสิกขาปทานิ สมาทิยามิ" คนเฝ้าศาลาแกไปฟ้องเจ้าคุณว่าผมว่าเป็นทะสะสิกขาแทน เจ้าคุณแกก็คงไม่เชื่อ ยังเรียกผมไปล้อว่าทำไมว่าอย่างนั้น ผมบอกจะไปให้ทะสะทำไม ให้ศีลผมให้มานักหนาแล้ว ตาคนแก่นั้นแกหูเชือนไปเอง


พุทธทาส อินทปัญโญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น