วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปฏิจจสมุปบาท(คัดบางส่วนมา)



ผู้ที่เข้าใจ ปฏิจจสมุปบาท, อาจกล่าวได้ว่า อวิชชา คือความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดในการดับทุกข์ ซึ่งฝังแน่นลงรากลึกอยู่ในจิต และไม่สามารถมองเห็นได้ในปุถุชน และเป็นต้นกําเนิดของความทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง อวิชชาเกิดจาก ปัจจัยอันมีอาสวะกิเลสที่เกิดจากความทุกข์และสุขทั้งหลายที่ทิ้งผลร้ายหรือ แผลเป็นเอาไว้ อันทําให้จิตขุ่นมัว และเศร้าหมอง เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า กล่าวคือเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมกันกับอวิชชา คือเมื่อไม่รู้ในความเป็นจริง กล่าวคือ จึงไป ยึดอาสวะกิเลสนั้นว่าเป็น เราของเราอยู่ลึกๆในจิต จึงไปขุ่นมัวเศร้าหมอง หรือเต้นไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ อาสวะกิเลส เหล่านี้อันมี


. โสกะ ความโศก โศรกเศร้า แห้งใจ หดหู่ใจ โศรกเศร้าจากการเสื่อมหรือสูญเสียต่าง ๆ เช่น โศกเศร้าของผู้ที่เสื่อมสุข เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค เสื่อมศีล เสื่อมทิฏฐิ เสื่อมยศ ฯลฯ.
๒. ปริเทวะ ความครํ่าครวญ โหยหา รํ่าไรรําพัน พิรี้พิไรรําพัน อาการของความอาลัยอาวรณ์คิดคํานึงถึงในสุขหรือทุกข์ในอดีตที่เสื่อมหรือสูญเสียไปแล้ว เช่นโหยหา อาลัย, ครํ่าครวญถึงสุข, ความสนุก, ญาติ, ทรัพย์, เกียรติ ฯลฯ.ที่เสื่อมหรือดับไปแล้วแต่อดีต อันอยากให้เกิด หรือไม่อยากเกิดขึ้นอีก
 ๓. ทุกข์ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สบายกายทั้งหลาย ความจดจําได้ ความกลัว ในความเจ็บปวด ความป่วยไข้ การบาดเจ็บ
๔. โทมนัส เศร้าใจ เสียใจ ความทุกข์ทางจิต ความไม่สําราญทางจิต อารมณ์ไม่ดีเป็นทุกข์ หดหู่ เศร้าหมอง เกิดแต่ไม่ได้ตามใจปรารถนา
๕. อุปายาส ความขุ่นเคือง คับแค้นใจ ขุ่นข้อง เช่น ความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ขุ่นเคือง หรือเกิดจากความคับแค้นใจหรือถูกเบียดเบียน รังแก เอาเปรียบ หรือไม่ได้ดังใจปรารถนา อาสวะกิเลสที่ เกิดจากความทุกข์เหล่านี้ที่หมักหมม นอนเนื่อง ซึมซ่าน ย้อมจิต เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า ขับไส ผลักดันเป็น เหตุเป็นปัจจัยแก่กัน และกันร่วมกับอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง กระตุ้นสังขารให้ผุดขึ้นหรือเจตนาขึ้นมาอัน เป็นเหตุปัจจัยอันก่อให้เป็นทุกข์ ปล่อยให้เป็นไปจนเป็นทุกข์ตามขบวนการเกิดของทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท(ดูภาพ การเป็นเหตุปัจจัยร่วมกัน) อันจักหมุนดําเนินต่อไปไม่รู้จักจบ จักสิ้น เนื่องจาก ความไม่รู้ ไม่เข้าใจจึงหยุดวงจร แห่งทุกข์นั้นไม่ได้, และเหล่าอาสวะกิเลส เหล่านี้จะหมักหมม นอนเนื่องอยู่ในจิต 

ตามปกติจะมองไม่เห็นเช่น โกรธเกลียดใครอยู่คนหนึ่ง และไม่พบกันเป็นเวลานานๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไป เป็นเวลาหลายปีเมื่อมาเจอกันอีก อาสวะกิเลส(อุปายาส-ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ)ที่นอนเนื่องสงบอยู่ จนไม่เคยคิดว่ายังมีอยู่ จะเกิดขึ้นทันที เปรียบได้ดั่งนํ้าที่แลดูใสสะอาดแต่ มีตะกอนนอนก้นอยู่ เมื่อมีสิ่งใดมากวนก็จะฟุ้งกระจายขึ้นมาแสดงความไม่บริสุทธิ์ให้เห็นทันที แต่มันไม่จบแค่นั้น มันร่วมเป็นปัจจัยกับอวิชชาความไม่รู้ให้ทํางานเริ่มวงจรของทุกข์...เริ่มสังขารในปฏิจจสมุปบาท เช่นความคิดที่เป็นทุกข์ ก่อทุกข์ใหม่ขึ้นอีกครั้ง ให้เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอีก, นอกจากตกตะกอนนอนเนื่องแล้ว ยังมีแขวนลอยเป็นเชื้อโรคอยู่ในจิตเฉกเช่นเดียวกับนํ้า ที่มีทั้งแขวนลอยและตกตะกอน อาการพวก
แขวนลอยได้แก่มีอาการหดหู่ หงุดหงิดมีโทสะกรุ่นๆโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ขุ่นมัว เศร้าหมอง มักไม่เห็นเหตุที่เกิด นอกจากใช้ตาปัญญาเท่านั้น อาการอย่างนี้เป็นได้นานๆมาก ล้วนเป็นผลมาจากพิษภัยอันร้ายกาจของอาสวะกิเลส และเพราะอาสวะกิเลสนั้นก็เป็นสภาวะธรรมชาติที่เกิดจากความจํา(สัญญา)ดังนั้นจึงคงมีอยู่อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ), เราจึงจําเป็นต้องมีวิชชาไม่ปล่อยไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ จนกว่าจักสิ้นอาสวะกิเลส(หมายถึงดับกิเลสโดยสัญญาจํายังมีอยู่ แต่ไม่มีผลใดๆต่อสภาวะจิตใจเนื่องจากเข้าใจสภาวะธรรมระดับสูงสุดแล้ว)เป็นการถาวร ดั่งนี้ท่านคงเห็นแล้วอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ชาติ)นั้นเป็นตัวสําคัญที่สุด เข้าใจยาก กําจัดยาก พระพุทธองค์จึงทรงจัดไว้ลําดับสุดท้ายใน สังโยชน์ ๑๐ (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์)ที่ต้องกําจัดก่อนถึงนิโรธ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น