วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สงกรานต์


พบกับ 時々๛༢༠༡༦ कभी कभी 一 อีกเช่นเคยน่ะครับ สงกรานต์ แล้วขอให้พบแต่สิ่งดี ๆ น่ะครับ ไว้คง มีโอกาสถ่ายภาพบรรยากาศงาน สงกรานต์ประจำปี 2559 มาให้ชมกันนี่ก็เพิ่งเข้าสู่เทศกาลเท่านั้นเรียกว่า หยุดยาวส่วนใหญ่ผู้คนจะออกต่างจังหวัดกันหมดคราวนี้แหละถนนในกรุงเทพ จะโล่งกำลังหาข้อมูลดี ๆ มาแบ่งปันกันระยะหลังนี้คอม ฯ เสียแก้ - ได้บ้างไม่ได้บ้าง อากาศก็ร้อนตับแตก

จากชีวิตประจำวันจริง ๆ ที่เราได้ยิน ๓ คำนี้บ่อย ๆ โลภะ โทสะ โมหะเป็นอกุศล แต่ก็ต้องไตร่ตรองด้วยว่า เป็นโทษจริง ๆ ตั้งแต่น้อยจนถึงมาก แล้วธรรมที่เป็นประโยชน์ เป็นคุณ ไม่ให้โทษเลย ก็คืออโลภะ (ความไม่ติดข้อง) ถ้าเป็นได้จริง ๆ ทีละเล็กทีละน้อยจะสบายสักแค่ไหน ไม่เดือดร้อนที่จะต้องแสวงหา ไม่เดือดร้อนเมื่อสิ่งนั้นพลัดพรากจากไป เพราะเหตุว่าไม่ติดข้อง แต่แสนยาก เพราะติดข้องมานานแสนนาน มีหนทางเดียวคือ ปัญญา ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงความไว้วางใจที่เราได้รับจากผู้คน ในชุมชนท้องถิ่นและสถานที่ทำงานของเรา ขึ้นอยู่กับวิธีที่พวกเขาตั้งข้อสังเกตเป็นอย่างมาก เรากระทำและตอบสนองอย่างไรใน

แต่ละวัน ด้วยเสียงและบุคคลิกภาพที่ยินดีปรีดาอย่างแท้จริง ขอให้ทักทายแลกเปลี่ยนอย่างสดใสและมีชีวิตชีวาต่อไป กับผู้คนที่เราพบปะขอให้มุ่งหน้าไปด้วยความกล้าหาญ และมองโลกในแง่ดี ทุกหนแห่งที่เราไป ขอให้มีกิริยาท่าทางที่ทำให้จิตใจของผู้อื่นสว่างไสวจงเต้นบนเวทีแห่ง ภาระหน้าที่ของท่านและร้องเพลงแห่งความปีติยินดีให้ดังไปทั่ว

ถ้าเป็นคนที่ไม่สำคัญเลยในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ขณะนั้นจะสบายใจไหม ? ถ้าเป็นคนที่ไม่สำคัญเลย ที่จริงแล้วสบายมาก แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความสำคัญตนที่สะสมมามาก ก็จะเป็นผู้ที่เดือดร้อน กระสับกระส่าย ไม่สบายใจเลย สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า วิถีชีวิตของแต่ละคนที่ได้ฟังพระธรรม มีการสะสมอบรมเหตุที่จะให้ปัญญาเกิดแล้วก็อบรมจนกระทั่งถึงขั้นที่จะละคลายกิเลสบ้างไหม เพราะเหตุว่าเป็นผู้ที่เริ่มเห็นความละเอียดของกิเลสขึ้นจากเหตุการณ์ต่าง ๆ

พญาหงส์ติดบ่วง





กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว


มีหงส์ฝูงหนึ่ง อาศัยอยู่ในถ้ำใหญ่ ณ ภูเขาจิตตกูฏ
หัวหน้าฝูงหรือพญาหงส์ชื่อ ธตรฐ มีหงส์ที่สนิทชื่อ สุมุข เป็นกัลยาณมิตร
อยู่มาวันหนึ่ง นกหงส์ 2 - 3 ตัวในฝูงบินไปหากินที่สระบัวหลวงที่อยู่ห่างไกลออกไป
เป็นสระบัวที่กว้าง ใหญ่สวยงาม และเป็นที่อาศัยหากินของนกเป็นจำนวนมาก
เมื่อพบเแหล่งอาหาร ขนาดใหญ่ ก็ทำให้นกหงส์รู้สึกพอใจ
จึงกลับมาเล่าให้พญาหงส์ฟังว่า พวกเขาอยากกลับไปหากินที่สระนั้นอีก
พญาหงส์ห้ามว่า สระนั้นเป็นถิ่นมนุษย์มีอันตรายมากสำหรับนก ไม่ควรไป
แต่บริวารก็อ้อนวอน ครั้งแล้วครั้งเล่า
พญาหงส์จึงอนุโลม และบอกว่าจะตามไปด้วย
คราวนั้น จึงมีหงส์บริวารตามไปเป็นจำนวนมาก
พอร่อนลงเท่านั้น พญาหงส์ก็ติดบ่วง
บ่วงของ พรานรัดเท้าไว้แน่น
พญาหงส์ดึงเท้าอย่างแรง ด้วยคิดว่าจะทำให้บ่วงขาด
ปรากฏ ว่าครั้งแรกหนังถลอก ครั้งที่สองเนื้อขาด พอถึงครั้งที่สาม เอ็นขาด
ถึงครั้งที่สี่ บ่วงกินลึกลงไปถึงกระดูก เลือดไหลมาก เจ็บปวดแสนสาหัส
พญาหงส์คิดว่า ถ้าหากตนร้องขึ้นว่าติดบ่วง
บริวารซึ่งกำลังกิน อาหารเพลินอยู่ก็จะตกใจ กินอาหารไม่ทันอิ่ม
เมื่อบินกลับก็จะไม่มีกำลัง พอ จะตกทะเลตาย
จึงเฉยอยู่ รอให้บริวารกินอาหารจนอิ่ม
ตนเองยอมทน ทุกข์ทรมานด้วยบ่วงนั้น
เมื่อเวลาล่วงไปพอสมควร
เหล่าหงส์อิ่มแล้ว กำลังเล่นเพลินกันอยู่
พญาหงส์ก็ร้องขึ้นด้วยเสียงดังว่า ติดบ่วง
พอได้ยินดังนั้น หงส์บริวารทั้งหลายก็ตกใจ
บินหนีกลับไปยังภูเขาจิตตกูฏ

ด้านหงส์สุมุข ทีแรกก็บินไปกับบริวารเหมือนกัน
แต่ เมื่อบินไปสักครู่หนึ่งก็เกิดเฉลียวใจว่าพญาหงส์อาจติดบ่วงก็ได้ จึงมองหาพญาหงส์
เมื่อไม่เห็น ก็คิดว่าอันตรายคงเกิดขึ้นแก่พญาหงส์เป็นแน่แล้ว หงส์สุมุขจึงรีบบินกลับมาที่สระบัว
เมื่อเห็นพญาหงส์ติดบ่วงอยู่ก็ปลอบใจ ว่า อย่ากลัวเลย ตนเองจะสละชีวิตแทน
ด้านพญาหงส์กล่าวว่า.......................................................
ฝูงหงส์บินหนีไปหมดแล้ว ขอท่านจงเองตัวรอดเถิด ไม่มีประโยชน์อะไรในการอยู่ที่นี่
เมื่อข้าพเจ้าติดบ่วงอยู่เช่นนี้ ความเป็นสหายจะมีประโยชน์อะไรเล่า"
หงส์สุมุขกล่าวว่า...............................................
ข้าพเจ้าจะอยู่จะไปก็ต้องตายอยู่ดี จะหนีความตายหาได้ไม่
เมื่อท่านมีสุข ข้าพเจ้าอยู่ใกล้
เมื่อท่านมีทุกข์ ข้าพเจ้าจะจากไปเสียได้อย่างไร
การ ตายพร้อมกับท่านประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่มีท่าน
เมื่อท่านมี ทุกข์อยู่เช่นนี้ ข้าพเจ้าจะไปเสีย ดูไม่เป็นธรรมเลย"
พญาหงส์กล่าวว่า.......................................................
คติของผู้ติดบ่วงเช่นข้าพเจ้าจะมีอะไรนอกจากต้องเข้าโรงครัว
ท่านเป็นผู้มีความคิด เห็นประโยชน์อะไรในการยอมตายกับข้าพเจ้า
ท่าน มายอมสละชีวิตในเรื่องที่มิได้เห็นคุณอย่างแจ่มแจ้ง
เหมือนคนตาบอดทำ กิจการในที่มืด จะให้สำเร็จประโยชน์อย่างไร"
หงส์สุมุขกล่าวตอบว่า...........................................................................
ทำไมท่านจึงไม่รู้แจ้งซึ่งความหมายแห่งธรรม
ธรรมที่บุคคลเคารพแล้ว ย่อมแสดงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าเพ่งถึงธรรมและประโยชน์ที่จะ ได้จากธรรม มิใช่ผลประโยชน์ทางวัตถุจึงมิได้เสียดายชีวิต
ธรรมดามิตร เมื่อระลึกถึงธรรมอยู่ ก็ไม่ควรทอดทิ้งมิตรในยามทุกข์ แม้จะต้องเสียชีวิตก็ตาม
นี้คือธรรมของสัตบุรุษ

เมื่อนกทั้งสองกำลังเจรจากันอยู่อย่างนี้ นายพรานก็มาถึง
และเกิดความสงสัยว่า นกตัวหนึ่งติดบ่วงอยู่ แต่อีกตัวหนึ่งมิได้ติดบ่วง ทำไมจึงยืนอยู่ใกล้ ๆ
มิได้บินหนีไป จึงไต่ถาม
หงส์ สุมุขจึงตอบให้ทราบว่า เพราะพญาหงส์เป็นนายของตน จึงมิอาจละทิ้งท่านไปได้
เพื่อจะขอชีวิตแห่งพญาหงส์ สุมุขจึงกล่าวด้วยคำอ่อนหวานหว่านล้อมให้พรานเห็นใจ
ขอให้ปล่อยเขาทั้ง สองไปพบญาติและบริวาร
ด้านนายพรานนั้นนิยมสรรเสริญในน้ำใจอันภักดี และเสียสละของหงส์สุมุขอยู่แล้ว
และต้องการจะปล่อยนกทั้งสองไป แต่เพื่อทดลองใจสุมุข จึงกล่าวว่า
ท่านเองก็มิได้ติดบ่วง และเราก็มิปรารถนาจะฆ่าท่าน
ท่านจงรีบไปเสียเถิด ขอให้ท่านอยู่เป็นสุขตลอดกาลนาน"
ด้านหงส์สุมุขตอบว่า.............................................................................
ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะมีชีวิตอยู่ โดยไม่มีพญาหงส์
ถ้าท่านพอใจเพียงชีวิตเดียว ก็ขอให้ปล่อยพญาหงส์เถิด
ส่วนตัวข้าพเจ้าเองนั้น ท่านจะปล่อยหรือจะกินเสียก็ได้
อนึ่ง ข้าพเจ้าทั้งสองมีรูปกายเท่ากัน
ถึงจะเอาชีวิตข้าพเจ้าไปแทนลาภของท่านก็มิได้พร่อง
ขอได้โปรดเปลี่ยนตัว ข้าพเจ้ากับพญาหงส์เถิด
ถ้าท่านไม่แน่ใจก็ขอให้เอาบ่วงผูกมัดข้าพเจ้าไว้ แล้วปล่อยพญาหงส์ไป
พรานมีใจอ่อนโยนยิ่งขึ้น
ต้องการจะปล่อยพญา หงส์เพื่อเป็นรางวัลแก่สุมุข
จึงกล่าวว่า...............................................................
ขอให้ใคร ๆ ทราบเถิดว่า
พญาหงส์พ้นจากบ่วงความตายได้ก็เพราะท่าน
มิตรอย่างท่าน หาได้ยากในโลก หรืออาจไม่มีในโลก
ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นใจท่าน เคารพในน้ำใจท่าน
ขอท่านทั้งสองจงบินไปเถิด ไปเป็นสุขในหมู่ญาติและบริวาร
เมื่อพญาหงส์และสุมุขได้ทราบว่า นายพรานทำการดักบ่วงเพื่อหาทรัพย์มาเลี้ยงชีพ
ก็ต้องการจะตอบแทนน้ำใจของ นายพราน
จึงขอร้องให้นายพรานพาไปเฝ้าพระราชาและเล่าเรื่องราวให้พระราชาฟัง
การคบเพื่อนที่ดี เป็นวิถีทางแห่งความสุขความเจริญของชีวิต ทั้งปัจจุบันและอนาคต
ซึ่งมิตร ที่ดีตามหลักในศาสนาพุทธคือ...
เป็นมิตรที่มีอุปการะ ร่วมทุกข์ร่วมสุข แนะนำประโยชน์ และมีความรักใคร่
ในขณะเดียวกัน พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียม 4 จำพวก ได้แก่
คนปอกลอก คนดีแต่พูด คนหัวประจบ และคนชักชวนไปในทางเสื่อม
การ คบบัณฑิตและนักปราชญ์มีประโยชน์มากอย่างนี้
การมีคนดีเป็นมิตรสหาย เมื่อมีทุกข์ก็เป็นที่พึ่งได้
ไม่ยอมละทิ้งในยามวิบัติ และยอมสละได้แม้ชีวิตเพื่อมิตรที่ดี
กัลยาณมิตรผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม แห่งมิตรนี้ หาได้ยากในโลก
ผู้ใดได้แล้วควรประคับประคองรักษาด้วยดี
พระราชาทรงทราบเรื่องทั้งหมด แล้ว
ก็ทรงเลื่อมใสในนกและพรานที่ประพฤติธรรมต่อกัน
จึงทรงพระราชทาน ทรัพย์เป็นอันมากแก่นายพราน เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพไปตลอดชีวิต
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ "เพื่อเยาวชน" ของสำนักพิมพ์คนรู้ใจ